ความดื้อและวิธีจัดการคนดื้อ ~ คนดื้อแท้จริงคือคนที่น่าสงสาร
เรียบเรียงโดย นพ.มนตรี แสงภัทราชัย (โค้ช SmartKid)
คำอื่นที่ใช้เรียกคนดื้อ :
ดื้อด้าน ดื้อรั้น หัวดื้อ หัวแข็ง อีโก้สูง อัตตาหนา เอาแต่ใจ คิดว่าตัวเองแน่ พวกไม่กล้าสู้ปัญหา พวกต่อต้านสังคม(anti-social)
ความดื้อรั้น มักเกิดจากความริษยาเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะ การยึดมั่น ถือมั่น ในความคิดของตนเป็นใหญ่ บ่อยครั้งที่เบื้องลึกของความดื้อนั้นคือความหลง หลงในสิ่งที่ใจเขายอมรับ ณ ช่วงเวลานั้น ความดื้อซึ่งเป็นความหลงเมื่อประกอบกับกิเลสตัวอื่น เช่น ความโกรธ ความอาฆาต ความโลภ การถือตัวตน หรือความเชื่อ จะทำความเสียหายเดือดร้อนให้คนอื่นมาก
ความดื้อโดยธรรมชาติมีหลากหลายและความดื้อบางอย่างก็ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายแต่กลับเป็นสิ่งที่ดีด้วยซ้ำไป
– ดื้อไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของใคร
– ดื้อบางครั้งบางคราว
– ดื้อเงียบเรียบร้อย
– ดื้อคนเดียวไม่เกี่ยวกับใคร
– ดื้อแล้วชอบกำหนด ตรวจสอบคนอื่น
– ดื้อเฉย ๆ เพราะไม่รู้
– ดื้อแม้ว่าจะรู้ แต่ยอมตามปล่อยเลยตามเลย
– ดื้อยอมเฉพาะบางเรื่อง เช่น ยอมราคะ
– ดื้อเฉพาะกับบางคน
– ดื้อต่อกิเลสตัณหา (อันนี้หายาก)
คนดื้อเป็นคนที่น่าสงสาร เขามีจุดอ่อนที่พร้อมจะทำให้ตัวเองเดือดร้อน และก็ต้องสงสารตัวเราด้วยถ้าผลจากที่เขาดื้อส่งผลต่อตัวเราหรือคนส่วนใหญ่จนถึงระดับองค์กรโดยรวม
สาหตุที่ทำให้เกิดความดื้อ
- มีประสบการณ์เก่าอันเลวร้ายตั้งแต่เด็ก (Early negative experiences) โดยฉพาะอย่างยิ่งความเครียดที่เกิดขึ้นจากสังคมรอบตัวหรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในทางลบที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก เช่นเกิดในถิ่นที่มีความรุนแรง สงคราม หรือเกิดจากพ่อแม่มีการย้ายที่อยู่บ่อยๆ เพื่อหางานใหม่ แทนที่วัยเด็กจะรู้สึกปลอดภัยหรือมั่นคง มีเพื่อนสนิท มีของเล่นที่ชอบ แต่กลับต้องพบการเปลี่ยนแปลงซ้ำแล้วซ้ำเล่า
- เป็นคนไม่เข้าใจตัวเองในทุกสิ่งอย่าง (Misconceptions about the nature of self, life or others) เป็นผลจากข้อที่ 1 ทำให้เข้าใจว่าชีวิตคือความไม่มั่นคงและเป็นความโหดร้าย ดังนั้นถ้าต้องเจอการเปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิตอีก ก็จะพยายามไม่เปลี่ยนเพราะรู้สึกว่าเป็นมหันตภัยที่กำลังจะเกิดขึ้นในชีวิต กลายเป็นคนที่ยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรที่ตนคิดไว้ เพราะการเปลี่ยนแปลงคือความยากลำบากไม่ใช่ความท้าทาย
- เป็นคนที่มีความหวาดกลัวตลอดเวลารวมถึงความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิต (A constant fear and sense of insecurity) เป็นผลมาจากข้อ 1 และ 2 คนเหล่านี้จะมีเหตุผลเข้าข้างตัวเองตลอดเวลา แม้ว่าหลายครั้งมันฟังแล้วไม่มีเหตุผลเอาซะเลย แถมไม่รับฟังเหตุผลคนอื่นด้วย ทั้งหมดนี้ล้วนมาจากความหวาดกลัวจากจิตใต้สำนึกของตัวเอง
- การปรับตัวที่ผิดวิธีเพื่อสร้างเกราะป้องกันตัวเอง (A maladaptive strategy to protect the self) เนื่องจากมีความหวาดกลัวตลอดเวลา ดังนั้นวิธีหลักๆ ที่คนเหล่านี้ใช้ในการจัดการเมื่อต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงก็คือ
– ปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับที่จะเปลี่ยนแปลง(ไม่ยอมเปลี่ยนอะไรทั้งสิ้น
– ปิดกั้นหรือหลีกเลี่ยงสถานการที่ไม่คุ้นเคยหรือเหตุการณ์ใหม่ๆที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน
คุณเป็นคนดื้อหรือเปล่า?
ความดื้อเป็นพฤติกรรมที่พบบ่อยที่สุดอันหนึ่งในสังคมและที่ทำงานคนปกติก็มีความดื้อได้เพราะทุกคนล้วนแต่มีระบบวิธีคิดและประสบการณ์สั่งสมที่แตกต่างกันแต่คนดื้อที่ถือว่าเป็นพฤติกรรมบกพร่องทางสังคมก็คือพวกที่ดื้อด้านได้ทุกสถานการณ์อย่างไร้เหตุผลและไม่เปิดใจที่จะพัฒนาศักยภาพตัวเองในการอยู่ร่วมสังคมกับผู้อื่นพวกเขาจะใส่หน้ากากที่ชื่อว่า “Leave me alone (อย่ามายุ่งกับฉ้านนน !!) อย่างไรก็ตามเมื่อเราเข้าใจรากเหง้าแห่งความดื้อของคนเหล่านี้แล้วเราจะรู้สึกเห็นใจมากกว่ารังเกียจคนเหล่านี้
ถ้าบังเอิญคุณเริ่มรู้ตัวแล้วว่าคุณอยู่ในกลุ่มมนุษย์ดื้อด้าน
… ยินดีด้วยครับอย่างน้อยคุณก็เริ่มรู้จักและยอมรับตัวเองมากขึ้นแล้วขั้นต่อไปที่จะช่วยให้คุณเป็นคนที่มั่นคงทางอารมณ์มากขึ้นและไม่เป็นมลพิษต่อผู้อื่นวิธีง่ายที่สุดคือให้ลองสังเกตพฤติกรรมของคุณที่แสดงออกต่อคนอื่นว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่
– พฤติกรรมที่แสดงว่าคุณไม่เปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น
– พฤติกรรมที่ชอบเถียงหัวชนฝาว่าไม่ควรเปลี่ยนแม้ว่าคนอื่นจะบอกเหตุผลกับคุณแล้วก็ตาม
– พฤติกรรมที่แสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างไม่สร้างสรรค์ชนิดประหัตประหารคนอื่น
หากคุณมีพฤติกรรมข้อใดข้อหนึ่งข้างต้นลองถามตัวเองเพิ่มอีกสักนิด
? เพราะอะไรฉันถึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงหรือสิ่งใหม่ๆ … ฉันกลัวอะไรกันแน่ ?
? สิ่งที่ฉันกลัวมันจะทำอะไรฉันได้ ถ้าฉันคิดจะเปลี่ยนแปลงซะอย่าง ?
คำถามที่ลึกที่สุดถ้าคุณถามตัวเองแล้วตอบไม่ได้แสดงว่าคุณต้องการความช่วยเหลืออย่างจริงจัง อย่างน้อยก็จากเพื่อนสนิท/ที่ปรึกษามืออาชีพ/นักพฤติกรรมบำบัด
? ความกลัวที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆนั้น แท้จริงมันมาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
? ในอดีตฉันถูกทำร้ายอะไรมาบ้างจนเป็นประสบการณ์ฝังใจและคอยตามหลอกหลอนจนถึงทุกวันนี้ ?
? ฉันจะปล่อยวางความดื้อรั้นหรือความรู้สึกเช่นนี้ได้อย่างไร ?
เพียงแค่คุณเริ่มสังเกตตัวเองบ่อยขึ้น
คุณจะตระหนักรู้ตัวและมองเห็นตัวเองมากขึ้น
และเริ่มควบคุมพฤติกรรมดื้อด้านของคุณได้มากขึ้นโดยอัตโนมัติ
นอกจากนี้วิธีคิดต่อไปนี้จะช่วยให้คุณมีภาวะอารมณ์แข็งแรงขึ้น
· เมื่อไหร่ก็ตามที่ฉันพยายามต่อต้านหรือเถียงหัวชนฝาให้คิดถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่มากกว่าความดื้อรั้นของตัวฉันเอง
· ฉันเข้าใจแล้วว่าการพยายามต่อต้านไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเปรียบเสมือนการต่อต้านให้งฉันไม่ได้พบกับเป้าหมายและความสุขในชีวิต
· ฉันเริ่มยอมรับที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตเพราะการเปลี่ยนแปลงนั้นจะทำให้ชิวิตของฉันได้พบเจอแต่สิ่งที่ดีและเป็นการแสดงถึงศักยภาพในตัวของฉันอย่างแท้จริง
อีกหนึ่งเทคนิคที่ช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดื้อน้อยลงได้คือ การสไลด์ความคิดขั้วลบให้เข้าหาขั้วบวก (slide technique)
ในทางจิตวิทยาคนดื้อมักไม่รู้ว่าตัวเองเคยชินกับความคิดขั้วลบมากมายที่เป็นส่วนผสมอย่างลงตัวทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า“ดื้อ” ในคนๆ นั้น ดังนั้นเทคนิคการสไลด์ความคิดให้กลายเป็นขั้วบวกมากขึ้นจะช่วยทำให้มีทัศนคติในการใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขขึ้น
ความคิดขั้วลบ ——-> ความคิดขั้วบวก
ความโลภ (greed) ความไม่เห็นแก่ตัว (selflessness)
ความหยิ่งยะโส (arrogance) ความอ่อนน้อมถ่อมตน (humility)
การต่อต้านตัวเอง (self- deprecation) ความภาคภูมิใจ (pride)
การปฏิเสธ (denial) การเปิดใจ (openmindedness)
ความทุกข์ทรมาน (martyrdom) ความเบิกบาน (merriness)
ถ้าต้องเกี่ยวข้องกับคนดื้อคุณจะรับมืออย่างไร?
บ่อยครั้งการไม่พูดอะไรไม่พยายามเข้าไปแก้ไข กลับจะดีเสียกว่า
แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ แล้ว ในเบื้องต้นการจัดการกับคนดื้อทำได้ด้วยการใช้ ปัญญา ศิลปะ เหตุผล ความอดทน และ การปล่อยวาง
ปัญญา – คือต้องรู้จักคนๆนั้น รู้ว่าเค้ามีทัศนคติความเชื่อในการใช้ชีวิตอย่างไร คุณค่าในตัวเขาคืออะไรและมุ่งเน้นไปที่สิ่งเหล่านั้น ทำให้เกิดความรู้สึกการเป็นพวกเดียวกันมิใช่เข้ามาขัดแย้งกับเจา
ศิลปะ เช่น 1. การสร้างทางเลือกที่หลากหลายเพราะคนดื้อมักจะปฏิเสธและไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้วหากมีข้อเสนอให้เลือกเพียงอย่างเดียวก็จะมีโอกาสล้มเหลวสูงการสร้างทางเลือกมากกว่าหนึ่งอย่างทำให้คนดื้อรู้สึกว่าไม่ถูกบังคับ และที่สำคัญเขาจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายชนะเพราะมีโอกาสเลือกอย่างที่ต้องการทั้งที่ความจริงจะเลือกอะไรก็เป็นไปอย่างที่เราต้องการทั้งสิ้นเพราะเราเป็นคนสร้างตัวเลือกเหล่านั้นให้เขา
2. โน้มน้าวเรียกร้องให้เขารับฟังความคิดเห็นผู้อื่นโดยเฉพาะคนที่เขาเคารพหรือไว้วางใจ
ปล่อยวาง – ในกรณีโดยทั่วไป ส่วนมาก เราควรจะปล่อยวาง เว้นแต่เห็นว่าอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายเดือดร้อนมาก
เหตุผล – ในกรณีที่เราจำเป็นต้องพูดคุยกับคนดื้อควรละอคติและมีเมตตาต่อเขา พูดคุยกับเขาอย่างมีเหตุผลให้ข้อมูลข้อเท็จจริง แต่ไม่ต้องเรียกร้องให้เขาคุยด้วยเหตุผลและไม่จำเป็นต้องร้องขอให้เขามี “เหตุผล” ในการสนทนา แต่ลองถามเขาว่า “ทำไม”เขาจึงยังยืนกรานอย่างนั้น เขามีเหตุผลอะไร
อดทน – พูดน้อย อดทน อดกลั้นที่จะไม่พูดเกินจำเป็น และอย่าพยายามแจกแจงรายละเอียดทุกสิ่งอย่างเพราะกับคนดื้อเขามักจะมีความคิดของเขา เมื่อเขาไม่เห็นด้วยเขาก็มักจะแสดงความเห็นขัดแย้งในรายละเอียดพวกนั้น ดังนั้นการพูดน้อยไม่ให้รายละเอียดเกินจำเป็น ก็จะช่วยได้ นอกจากนี้ขณะพูดควรใช้น้ำเสียงถ้อยทีอ่อนโยนถ้อยทีถ้อยอาศัยจะช่วยให้คนดื้อมีการใช้โทนเสียงคล้อยตามได้
ดีเสมอต้นเสมอปลาย – จริงใจ ดีกับเขา อย่างสม่ำเสมอแม้ว่าเขาจะดื้อครั้งแล้วครั้งเล่าเพราะอย่างไรเราก็เป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกกัน
Credit:
- Coaching (การโค้ช)
- Leadership (ผู้นำคุณภาพ)
- Self Development & Emotional Intelligence (การพัฒนาตนเอง และ วุฒิภาวะทางอารมณ์)
- อื่นๆ
- สไตล์ผู้นำ 6 แบบ คุณเป็นแบบไหนมากกว่ากัน 24 views
- ความดื้อและวิธีจัดการคนดื้อ ~ คนดื้อแท้จริงคือคนที่น่าสงสาร 17 views
- อารมณ์กับการตัดสินใจ – สงครามระหว่างสมองสองด้าน 7 views
- 9 พฤติกรรมที่ผู้นำใช้เพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ 4 views
- วิธีสร้างความเป็นผู้นำที่น่าเคารพ (How to Earn Respect as a Leader) 3 views
- การโค้ชพนักงานที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือ (Coaching an Employee Who Doesn’t Want Help) 2 views
- ความผิดพลาดทั้งห้าในการสร้างทีม: เรียบเรียงโดย คุณกิตติ เกตุทัต (ที่ปรึกษาโครงการโรงพยาบาลเมืองพัทยา) 2 views
- เราจะทำงานกับคนที่เข้ากับคนอื่นไม่ได้ (EQ ต่ำ) อย่างไร 2 views
- Brain-based Coaching คืออะไร? 2 views